เมนู

ปธานสูตรที่ 2


ว่าด้วยความเพียรใหญ่


[355] มารได้เข้ามาหาเรา ผู้มีตน
ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร บากบั่นอย่างยิ่ง
เพ่งอยู่ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อ
บรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ กล่าววาจา
ด้วยเอ็นดูว่า ท่านผู้ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้า-
หมอง ความตายของท่านอยู่ในที่ใกล้.
เหตุแห่งความตายของท่านมีตั้งพัน
ส่วน ความเป็นอยู่ของท่านมีส่วนเดียว ชีวิต
ของท่านผู้ยังเป็นอยู่ประเสริฐกว่า เพราะว่า
ท่านเป็นอยู่ จักกระทำบุญได้.
ท่านประพฤติพรหมจรรย์ และบูชา
ไฟอยู่ ย่อมสั่งสมบุญได้มาก ท่านจักทำ
ประโยชน์อะไรด้วยความเพียร ทางเพื่อ
ความเพียรพึงดำเนินไปได้ยาก กระทำได้
ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก มารได้ยืน
กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระพุทธเจ้า.



พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประ-
พันธ์นี้กะมารผู้กล่าวอย่างนั้นว่า ดูก่อนมารผู้
มีบาป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของคนประมาท ท่าน
มาในที่นี้ด้วยความต้องการอันใด ความต้อง
การอันนั้นด้วยบุญ แม้มีประมาณน้อย ก็
ไม่มีแก่เรา ส่วนผู้ใด ยังมีความต้องการบุญ
มารควรจะกล่าวกะผู้นั้น.
เรามีศรัทธา ตบะ วิริยะ และปัญญา
ท่านถามเราแม้ผู้มีตนส่งไปแล้ว ผู้เป็นอยู่
อย่างนี้เพราะเหตุไร ลมนี้พึงพัดกระแสแม่-
น้ำทั้งหลายให้เหือดแห่งไปได้ เลือดน้อย
หนึ่งของเราผู้มีใจเด็ดเดี่ยวไม่พึงเหือดแห้ง.
เมื่อโลหิตเหือดแห้งไปอยู่ดีและเสลด
ย่อมเหือดแห้งไป เมื่อเนื้อสิ้นไปอยู่ จิตย่อม
เลื่อมใสโดยยิ่ง.
สติ ปัญญา และสมาธิของเรา ย่อม
ตั้งมั่นโดยยิ่ง เรานั้นพึงจะได้รับเวทนาอัน
แรงกล้าอยู่อย่างนี้ จิตย่อมไม่เพ่งเล็งกาม
ทั้งหลาย ท่านจงดูความที่สัตว์เป็นผู้บริสุทธิ์.
กามทั้งหลาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่
1 ของท่าน ความไม่ยินดี เรากล่าวว่า เป็น

เสนาที่ 2 ของท่าน ความหิวและความกระหาย
เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 3 ของท่าน ตัณหา
เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 4 ของท่าน ถีนมิทธะ
เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 5 ของท่าน ความ
ขลาดกลัว เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 6 ของ
ท่าน ความสงสัย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 7
ของท่าน ความลบหลู่ ความหัวดื้อ เรากล่าว
ว่าเป็นเสนาที่ 8 ของท่าน ลาภ สรรเสริญ
สักการะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 9 ของท่าน
และยศที่ได้มาผิดซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลยกตน
และดูหมิ่นผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ 10
ของท่าน ดูก่อนมาร เสนาของท่านนี้มีปกติ
กำจัดซึ่งคนผู้มีธรรมดำ คนผู้ไม่กล้าย่อมไม่
ชนะซึ่งเสนาของท่านนั้น ส่วนคนผู้กล้าย่อม
ชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.
ก็เพราะเหตุที่ได้ความสุขนั้น แม้
เรานี้ก็พึงรักษาหญ้ามุงกระต่ายไว้ น่าติเตียน
ชีวิตของเรา เราตายเสียในสงครามประเสริฐ
กว่า แพ้แล้วเป็นอยู่จะประเสริฐอะไร.

สมณพราหมณ์บางพวกหยั่งลงแล้ว
ในเสนาของท่านี้ ย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ที่มี
วัตรงาม ย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลาย
ไม่รู้.
เราเห็นมารพร้อมด้วยพาหนะยกออก
แล้วโดยรอบ จึงมุ่งหน้าไปเพื่อรบ มารอย่า
ได้ยังเราให้เคลื่อนจากที่.
โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมครอบงำ
เสนาของท่านไม่ได้ เราจะทำลายเสนาของ
ท่านเสียด้วยปัญญา เหมือนบุคคลทำลาย
ภาชนะดินทั้งดิบทั้งสุก ด้วยก้อนหิน ฉะนั้น.
เราจักกระทำสัมมาสังกัปปะให้ชำ-
นาญและดำรงสติให้ตั้งมั่นเป็นอันดีแล้ว จัก
เที่ยวจากแคว้นนี้ไปยังแคว้นโน้น แนะนำ
สาวกเป็นอันมาก.
สาวกผู้ไม่ประมาทเหล่านั้นมีใจเด็ด-
เดี่ยว กระทำตามคำสั่งสอนของเรา จักถึงที่
ซึ่งไม่มีความใคร่ ที่ชนทั้งหลายไปถึงแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก.

มารกล่าวคาถาว่า

เราได้ติดตามรอยพระบาทของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าสิ้น 7 ปี ไม่ได้ประสบช่อง
ของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสิริ.
มารได้ไปตามลมรอบ ๆ ก้อนหินซึ่ง
มีสีคล้ายก้อนมันข้น ด้วยคิดว่า เราจะประ-
สบความอ่อนแอในพระโคดมนี้บ้าง ความ
สำเร็จประโยชน์พึงมีบ้าง.
มารไม่ได้ความพอใจในพระสัม-
พุทธเจ้า ได้กลายเป็นลมหลีกไป ด้วยคิดว่า
เราถึงพระโคดมแล้ว จะทำให้ทรงเบื่อพระทัย
หลีกไป เหมือนกาถึงไศลบรรพตแล้วบิน
หลีกไป ฉะนั้น.
พิณของมารผู้ถูกความโศกครอบงำ
แล้ว ได้ตกจากรักแร้ ลำดับนั้น มารนั้น
เสียใจ ได้หายไปในที่นั่นแล.

จบปธานสูตรที่ 2

อรรถกถาปธานสูตรที่ 2


ปธานสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ตํ มํ ปธานปหิตตฺตํ มารเข้ามาหาเรา
ผู้มีตนส่งไปแล้วด้วยความเพียร ดังนี้.
ถามว่า เรื่องนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?
ตอบว่า มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.
ท่านพระอานนท์ ยังบรรพชาสูตรให้จบลง ด้วยบทว่า ปธานาย
คมิสฺสามิ เอตฺถ เม รญฺชติ มโน
อาตมภาพจักไปเพื่อความเพียร ใจ
ของอาตมภาพยินดีในความเพียรนี้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ทรงดำริว่า เรา
ปรารถนาความเพียรตลอด 6 ปี กระทำทุกรกิริยา วันนี้เราจักกล่าวถึงความ
เพียรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระ-
คันธกุฎี ประทับนั่ง ณ พุทธาสนะทรงปรารภว่า ตํ มํ ปธานปหิตตฺตํ
ดังนี้ แล้วตรัสพระสูตรนี้.
ในบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ ด้วยคำสองคำ
ว่า ตํ มํ ดังนี้. บทว่า ปธานปหิตตฺตํ ได้แก่ มีจิตส่งไปแล้วหรือสละ
อัตภาพเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงลักษณะ
ด้วยบทว่า นทึ เนรญฺชรํ ปติ ความว่า แสดงลักษณะ. เพราะ ลักษณะ
ชื่อว่า แม่น้ำเนรัญชรา เพราะมีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร. โดยเหตุที่ใน
บทว่า นทึ เนรญฺชรํ เป็นทุติยาวิภัตติ แต่มีความเป็น สัตตมีวิภัตติว่า นทิยา
เนรญฺชราย
อธิบายว่า ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. บทว่า วิปรกฺกมฺม คือ